การเตรียมตัวเพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์


การประกอบพิธีฮัจย์เป็นรู่ก่นข้อที่ 5 ของศาสนาอิสาลามที่บังคับแก่มุสลิมทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะและมีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์กำหนด ซึ่งอยู่บนพื้นฐานและเงื่อนไขหลัก 3 ประการ คือ
  1. มีทรัพย์สินพอเพียงสำหรับใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และกลับภูมิลำเนาโดยไม่เดือดร้อนและไม่เป็นภาระให้แก่ครอบครัวหรือผู้อยู่เบื้องหลัง
  2. มีสุขภาพที่สมบูรณ์พอที่จะทนต่อการตรากตรำในการเดินทางและประกอบพิธีฮัจย์ได้
  3. มีความปลอดภัยตลอดการเดินทาง

การเตรียมตัวด้านสัมภาระติดตัว

  1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เพื่อนำไปใช้จ่ายระหว่างอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบียไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท เพราะค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร เป็นต้นได้ชำระกับผู้ประกอบการแล้ว การแลกเป็นเงินสกุลตอลลาร์สหรัฐฯโดยแลกเป็นเงินสดหรือเช็คเดินทาง สำหรับบัตรเครดิตทุกประเภทที่ทั่วโลกรับรองย่อมนำไปใช้ได้เช่นกัน
    การนำเงินสกุลริยาลของซาอุดีอาระเบียติดตัวไปเป็นจำนวนมากอาจจะไม่สะดวกด้วยเหตุว่าทางการซาอุดีอาระเบียเกรงว่าจะนำเงินปลอมเข้าประเทศส่วนเงินบาทไทยก็สามารถนำไปแลกในประเทศซาอุดีอาระเบียได้
  2. อาหาร นำไปเฉพาะในจำเป็น ควรเป็นอาหารแห้งและจัดใส่ภาชนะที่ตรวจสอบได้ง่าย ไม่ควรนำอาหารประเภทหมักดอง เช่นน้ำปลาหรือน้ำบูดู เพราะมีจำหน่ายในประเทศซาอุดีอาระเบียอยู่แล้ว
  3. ยารักษาโรค ผู้ที่มีโรคประจำตัว จำเป็นต้องใช้ยาเป็นประจำควรนำยาพร้อมใบรับรองการนำยาไปด้วย เพราะยาที่จะนำเข้าประเทศซาอุดีอาระเบียได้จะต้องเป็นยาที่แพทย์สั่งเท่านั้น (แบบใบรับรองการนำยาขอได้จากผู้ประกอบการหรือแซะห์ที่สังกัด)
  4. เครื่องแต่งกาย ผู้หญิงควรมีชุดแต่งกายมุสลิมะห์ (ปกปิดร่างกายเว้นแต่ใบหน้าและฝ่ามือ) ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายของซาอุดีอาระเบียส่วนผู้ชายต้องมีชุดเอียะห์รอม (ได้แก่ ผ้าขาวสำหรับนุ่ง 1 ผืน ห่ม 1 ผืนรองเท้าแตะ ย่าม และเข็มขัดปีใดเทศกาลฮัจย์อยู่ในช่องฤดูหนาวก็ให้นำชุดกันหนาวไปด้วย
  5. หนังสือคู่มือการประกอบพิธีฮัจย์ ควรนำติดตัวไปด้วยเพื่อช่วยทบทวนความจำในเรื่องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดปัญหาหลงลืม สับสนหรือเกิดความไม่แน่ใจในการประกอบศาสนกิจและควรจะมีเพื่อนร่วมเดินทางที่สนิทเพื่อคอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    การประกอบพิธีฮัจย์เป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนปรารถนา ดังนั้นเพื่อให้การปฏิบัติศาสานากิจสมบูรณ์ก่อนเดินทางจะต้องเตาบัตร (ขอลุแก่โทษ)ในการกระทำผิดทุกชนิดต่ออัลเลาะห์ ไม่กู้หนี้ยืมสินหากมีหนี้สินก็ต้องชำระให้เรียบร้อยพร้อมทั้งจัดสรรค่าใช้จ่ายให้แก่ครอบครัวอย่างพอเพียงตลอดระยะเวลาที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และเพื่อให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยมีหลักประกันในการเดินทางจะต้องเดินทางไปกับผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการเท่านั้น
  6. ประการสำคัญที่สุดที่รัฐบาลห่วงใยต่อผู้แสวงบุญ ทุกคนในการจัดกระเป๋าและสัมภาระต้องจัดกระเป๋าและสัมภาระด้วยตนเองน้ำหนักสัมภาระไม่เกิน 30 กิโลกรัม หรือตามที่สายการบินกำหนดหากเกินผู้แสวงบุญต้องชำระเงินค่าน้ำหนักส่วนเกินประมาณกิโลกรัมละ 600 บาทและไม่ควรรับฝากของจากผู้อื่น หากตรวจพบสิ่งผิดกฎหมายอยู่ในสัมภาระของผู้ใด  ตามกฎหมายผู้นั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อสิ่งของนั้น ๆ  และหากมีความจำเป็นควรตรวจสอบสิ่งของเหล่านั้นให้ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้แสวงบุญเอง และพึงระลึกเสมอว่าความผิดตามกฎหมายของประเทศซาอุดีอาระเบียในกรณีผู้นำยาเสพติดเข้าประเทศซาอุดีอาระเบียมีโทษประหารชีวิต

การเตรียมตัวด้านสุขภาพ

  1. ให้ทำความเข้าใจด้านสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ตลอดจนความเป็นอยู่การอยู่ร่วมกันกับคนหมู่มาก การทำกิจวัตรประจำวันในขณะที่อยู่ ณประเทศซาอุดีอาระเบีย
  2. เตรียมใจในเรื่องการที่จากบ้านและการจากครอบครัว
  3. เตรียมความพร้อมให้แก่ครอบครัวเพื่อลดความวิตกกังวล
  4. ศึกษาประสบการณ์จากผู้ที่เคยไปประกอบพิธีฮัจย์
  5. กรณีเคยมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนไป

การเตรียมตัวด้านสุขภาพกาย

หลักปฏิบัติอย่างหนึ่งของศาสนาอิสลาม คือ การประกอบศาสานากิจหรือทำพิธีฮัจย์ ณเมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮของทุก ๆ ปีจะมีมุสลิมทั่วโลกเดินทางพักอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่นเพื่อประกอบศาสนกิจ

ข้อมูลข่าวสารที่สื่อมวลชนต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหาการตาย การเจ็บป่วยบางคนอาการโรคประจำตัวกำเริบในขณะทำพิธีฯ บางคนก็ต้องนอนเจ็บป่วยอยู่ในที่พักอาศัยเนื่องจากอยู่ไกลจากหน่วยพยาบาล

ปัญหาดังกล่าวประเทศซาอุดีอาระเบียและหลาย ๆประเทศที่มีชาวมุสลิมเดินทางไปทำพิธีฮัจย์ ได้ร่วมมือช่วยเหลือกันป้องกัน แก้ไขดูแล รักษาพยาบาล แต่ปัญหาการตายและการเจ็บป่วยยังคงมีอยู่ทุก ๆ ปีเนื่องจากไม่สามารถให้การดูแลได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นมุสลิมทุกคนจึงควรมีความตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองก่อนเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
ประการที่ 1 การป้องกันการเกิดโรคหรือโรคประจำตัวกำเริบขณะประกอบพิธี
ก่อนอื่นท่านถามตัวเองก่อนว่าท่านมีโรคประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้หรือไม่
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจ
  • โรคหอบหืด
  • โรคปอดหรือหลอดลมอุดกั้น
  • โรคไส้เลื่อน
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
ถ้ามีควร ปฏิบัติดังนี้
  1. ไปพบแพทย์ที่รักษาอยู่ประจำเพื่อตรวจและแจ้งให้ทราบว่าท่านต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
  2. ขอยาที่ใช้อยู่ประจำติดตัวไปในปริมาณที่เพียงพอจนถึงวันเดินทางกลับ
  3. ขอให้แพทย์เขียนชื่อโรคและชื่อยาที่ใช้อยู่ประจำเป็นภาษาอังกฤษเพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเจดดาห์
  4. ต้องปฏิบัติตัวตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัดสำหรับท่านที่ไม่แน่ใจว่าเป็นโรคเหล่านี้ ท่านมีพฤติกรรมหรือมีปัจจัยเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้หรือไม่
    4.1 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
    4.2 มีน้ำหนักตัวเกินขนาดหรือเป็นคนอ้วน
    4.3 สูบบุหรี่เป็นประจำ
    4.4 คนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน
    4.5 คนในครอบครัวป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
         ถ้ามีควรปฏิบัติดังนี้
           - ไปตรวจเช็คสุขภาพที่โรงพยาบาลใกล้บ้านของท่านเพื่อตรวจว่าท่านกำลังจะป่วยเป็นโรคที่อาจจะเป็นอันตรายได้
           - ถ้าหากป่วยควรรักษาตัวก่อนเดินทางและป้องกันอาการกำเริบขณะประกอบพิธี
สำหรับท่านที่ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่กล่าวมาท่านเองก็มีความจำเป็นในการไปตรวจสุขภาพ เพื่อความปลอดภัยในขีวิตเพราะในประเทศซาอุดีอาระเบีย อากาศจะแห้งและร้อนจัดมีโรคและเชื้อโรคแพร่กระจายอยู่ทั่วไป คนอาศัยอยู่หนาแน่นเป็นล้านคนบางครั้งอาจเกิดปัญหาโดยไม่คาดคิด

ประการที่ 2 ยาสามัญที่ควรติดตัวไปด้วยเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินหรือเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย คือ
  1. พลาสเตอร์ ยาดม ยาหม่อง ครีมกันแดด
  2. ยาลดไข้
  3. ยาแก้หวัดหรือแก้แพ้อากาศ
  4. ยาแก้ท้องเสียหรือผงน้ำตาลเกลือแร่
  5. ยาระบายหรือยาถ่าย
  6. ยาแก้เมาเครื่องบินและเมารถ

ประการที่ 3 ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นหรือไข้สมองอักเสบ (MENINGOCO CALMENINGITIS) ประเทศซาอุดีอาระเบียบังคับให้ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ทุกคนฉีดวัคซีนป้องกันถ้าไม่ฉีดจะถูกจับฉีดทันที และจะถูกกักบริเวณที่สนามบินเมืองเจดดาห์การติดต่อของโรคนี้จะเข้าสู่ร่างกายระบบทางเดินหายใจ เช่น ปากและจมูกเมื่อได้รับเชื้อ ทำให้มีไข้สูงจัด เกิดอาการซักคอแห้ง หมดสติแม้รักษาหายแล้วก็ยังมีอาการผิดปกติทางสมอง บางรายอาจซ็อคตายวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนสามารถขอฉีดวัคซีนได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง

ประการที่ 4 ร่างกายต้องแข็งแรงก่อนออกเดินทาง
การประกอบพิธีฮัจย์ในปีหนึ่ง ๆ ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 เดือนผู้ที่ไปต้องเดินทางด้วยเท้าในระยะไกล ๆ ถ้าร่างกายไม่แข็งแรงพอจะทำให้เจ็บป่วยได้บ่อย ๆ จึงควรฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรงมีความอดทน

ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
  1.  ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ ๆ และใส่เสื้อผ้าที่สะอาดทุกวัน
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฝึกออกกำลังกายด้วยการเดินและวิ่งทุก ๆ วัน
  3. รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งตอนเช้าและก่อนนอน
  4. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
  5. รับประทานอาหารที่สุก สะอาด ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
  6. ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท
  7. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส่อยู่เสมอ

ประการที่ 5 การระวังรักษาสุขภาพประจำวันระหว่างพำนักในเมืองมักกะห์หรือมะดีนะห์ควรปฏิบัติดังนี้
  1. ดื่มน้ำมาก ๆ และสม่ำเสมอ
  2. ถ้าเสียเหงื่อมากจนร่างกายอ่อนเพลียหรือท้องเสียให้รับประทานผงน้ำตาลเกลือแร่ละลายน้ำดื่มให้มาก ๆ
  3. เมื่อต้องออกจากบ้านพัก ควรกางร่ม ใช้ผ้าปิดปากและปิดจมูก เพื่อป้องกันฝุ่นเข้าปากและจมูก
  4. เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงหน้าหนาวของประเทศซาอุดีอาระเบียซึ่งอากาศจะหนาวเย็นและมีลมแรง ควรเตรียมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นและครีมทาป้องกันผิวหนังและริมฝีปาก
  5. งดสูบบุหรี่ในห้องพักหรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
  6. ใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม
  7. เมื่อมีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์การปฏิบัติตนตามแนวทางดังกล่าวจนเป็นนิสัยจะมีสุขภาพกายและจิตใจตลอดจนสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างสมบูรณ์และมีความสุข

การปฏิบัติตนของผู้แสวงบุญขณะอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย

ในเทศกาลฮัจย์ผู้แสวงบุญที่ประเทศซาอุดีอาระเบียจะมีจำนวนมากผู้แสวงบุญทุกคนต้องระมัดระวังตนเองตลอดเวลา โดยปฏิบัติดังนี้
  1. ให้ติดบัตรประจำตัวและสวมใส่เลสข้อมือตลอดเวลา
  2. ไม่ควรออกจากห้องพักไปไหนคนเดียว หรือไปกับบุคคลที่ไม่รู้จักกันมาก่อน
  3. อย่าพยายามเข้าไปในที่ที่มีผู้คนอยู่หนาแน่นแออัด
  4. ควรใช่ร่มกันแดดเพื่อป้องกันความร้อน และควรสวมเสื้อกันหนาวหรือเสื้อผ้าหนา ๆเพื่อป้องกันลมหนาวหรืออากาศชื้นรวมทั้งควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
  5. ควรใช้ครีมทาผิวและเท้าเพื่อป้องกันผิวแห้งและแตก
  6. ต้องล้างภาชนะใส่อาหารให้สะอาด
  7. ควรดื่มน้ำและกินผักผลไม้มาก ๆ และควรพักผ่อนให้เพียงพอรวมทั้งไม่ควรออกกำลังโดยไม่จำเป็น
  8. หากมีอาการป่วย ให้ติดต่อผู้นำกลุ่มหรือแซะห์ เพื่อไปพบแพทย์ที่หน่วยพยาบาลไทย
  9. ให้ความร่วมมือปฏิบัติงานตามที่ผู้นำกลุ่มและเจ้าหน้าที่หน่วยพยาบาลไทยให้คำแนะนำโดยเคร่งครัด

การเตรียมสัมภาระเดินทางกลับ

เมื่อถึงกำหนดการเดินทางกลับประเทศไทยผู้แสวงบุญควรปฏิบัติดังนี้
  • สิ่งของทุกอย่างต้องบรรจุไว้ในกระเป๋าเดินทาง เนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องบิน เสื้อผ้าและอาหารที่จะใช้ จะต้องแยกต่างหากน้ำหนักสัมภาระรวมแล้วไม่เกิน 30 กิโลกรัม
  • น้ำหนักสัมภาระที่เกินจะต้องเสียเงินเพิ่มประมาณ 600 บาทต่อกิโลกรัม
  • ผู้ที่จะออกจากเมืองมักกะห์ วายิบตอวาฟวิดาอ์  ยกเว้น สุภาพสตรีที่มีเฮด (ประจำเดือน)
  • ผู้ที่เดินทางกลับ ไม่ควรหิ้วกระเป๋าถือมากกว่า 1 ใบสายการบินส่วนใหญ่อนุญาตให้นำน้ำซัมซัมคนละ 1 แกลลอน ขนาด 5 ลิตรโดยจะต้องใส่ถุงพลาสติกปิดผนึก และสัมภาระทุกชิ้นจะต้องเขียนชื่อที่อยู่ให้ชัดเจน
Link ที่เกี่ยวข้อง :  http://www.mfa.go.th/web/2800.php?id=3438